จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

“รัฏฐาธิปัตย์” คืออะไร

รัฏฐาธิปัตย์ หมายความว่า


๑) รัฏฐาธิปัตย์
เมื่อกล่าวถึง ปรัชญากฎหมายก็ต้องกล่าวถึง “กฎหมาย” และเมื่อกล่าวถึง กฎหมาย ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงรัฏฐาธิปัตย์ (soverign) ซึ่งสำนักความคิดกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองอธิบายว่าเป็นผู้ทำให้เกิดกฎหมายดังที่ จอห์น ออสติน (John Ausyin) อธิบายว่ากฎหมาย คือ คำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์

ความหมายของรัฏฐาธิปัตย์
สำนัก ฝ่ายกฎหมายบ้านเมืองให้ความสำคัญมากโดยอธิบายว่า รัฏฐาธิปัตย์ คือผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ส่วนจะเป็นใครก็สุดแท้แต่ว่าเป็นผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินหรือบ้านเมืองใด มีระบอบการปกครองอย่างไร ถ้าเป็นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัฏฐาธิปัตย์ คือ พระมหากษัตริย์

อำนาจของรัฏฐาธิปัตย์ ก็คือการมีอำนาจอธิปไตยนั่นเอง ซึ่งก่อให้เกิดผลดังนี้ คือ
๑. ผลของการมีอำนาจอธิปไตยทำให้ รัฏฐาธิปัตย์ อยู่ในฐานะสูงสุดในแผ่นดิน และไม่ต้องเชื่อฟังผู้อื่นอีก
ข้อ นี้อาจไม่ถูกต้องในเวลานี้แล้วก็เป็นได้ เพราะในระบบประชาธิปไตย รัฏฐาธิปัตย์ อาจอยู่ใต้ข้อจำกัดอำนาจบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามทฤษฎีว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้น เมื่อประชาชนแต่ละคนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนแต่ละคนย่อมเป็น รัฏฐาธิปัตย์ แต่ไม่มีประชาชนคนใดอยู่ในฐานะสูงสุดโดยไม่ต้องฟังคำสั่งผู้อื่น
๒. ผลประการแรกทำให้เกิดผลประการที่สองขึ้นมา กฎหมายระหว่างประเทศอันเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ ไม่มีสภาพเป็นกฎหมาย เพราะเมื่อรัฐต่างๆ มีฐานะเท่าเทียมกันก็ไม่มีรัฏฐาธิปัตย์ผู้ใดมีอำนาจบังคับบัญชาให้รัฏ ฐาธิปัตย์ผู้อื่นอยู่ในฐานะจำยอมได้ และจะเอาผิดถ้ามีการฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศก็มิได้ ความผูกพันระหว่างรัฐต่อรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องถ้อยที่ถ้อย อาศัยกันเท่านั้น
ปัจจุบันทฤษฎีดังกล่าวของ ออสตินเสื่อมความนิยมแล้ว
๓. ข้อจำกัดอำนาจของรัฏฐาธิปัตย์
ใน สมัยที่เชื่อกันว่าอำนาจสูงสุดเป็นของพระผู้เป็นเจ้าหรือพระผู้ทรงเป็นใหญ่ เพราะทรงเป็น “ที่สุดของสิ่งที่สุดทั้งปวง” (The Absoluteness) หรือสมบูรณัตถ์ จึงไม่มีข้อจำกัดขัดขวางของอำนาจของพระองค์แต่อย่างใด ครั้นต่อมาเชื่อกันว่าพระสันตะปาปาทรงเป็นใหญ่ หรือองค์อธิปัตย์อยู่เหนือกษัตริย์ทั้งหลายแต่อำนาจของอธิปัตย์องค์นี้ย่อม ถูกจำกัดเพราะพระสันตะปาปาจะออกกฎหมายใดให้ขัดหรือแย้งกับกฎของพระผู้เป็น เจ้ามิได้

นักกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองต่างถือกันว่า กษัตริย์ทรงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดอย่างแท้จริงโดยไม่อยู่ใต้อำนาจรัฏฐาธิปัต ย์ หากถือว่าแม้กษัตริย์เป็นรัฏฐาธิปัตย์แต่ก็เป็นรัฏฐาธิปัตย์ที่เกิดจากความ ยินยอมหรือการยอมรับนับถือของประชาชน ฉะนั้น จะใช้อำนาจผิดทำนองคลองธรรมมิได้ เพราะถ้าใช้อำนาจผิดธรรมนองคลองธรรมราษฎรก็จะเสื่อศรัทธา และคลายความจงรักภักดี ซึ่งในที่สุดอาจนำไปสู่การล้มล้างอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ก็เป็นได้

สำหรับ ทฤษฎีที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้นประชาชนย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แต่รัฏฐาธิปัตย์เช่นนี้ย่อมถูกจำกัดด้วยอำนาจรัฏฐาธิปัตย์คนอื่นๆ ซึ่งก็มีอำนาจอธิปไตยเท่าเทียมกัน เช่น พระเจ้าแผ่นดินของรัฐ ก. จะทำการใดก้าวก่ายอำนาจอธิปไตยของพระเจ้าแผ่นดินแห่งรัฐ ข. มิได้ เพราะต่างมีอำนาจอธิปไตยเช่นกันฉันใด ราษฎร ก. จะใช้อำนาจอธิปไตยของตนก้าวก่ายอธิปไตยของรัฐ ข. ไม่ได้ฉันนั้น

ใน อังกฤษ รัฐสภา เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดหรืออีกนัยหนึ่งรัฐสภาเป็นรัฏฐาธิปัตย์แทนประชาชนตาม ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของรัฐสภา (supremacy of parliament) “รัฐสภา” มีความหมายพิเศษเพราะประกอบด้วยองค์อำนาจสามประการคือ
๑. สภาสามัญ
๒. สภาขุนนาง
๓. พระมหากษัตริย์
สำหรับ พระมหากษัตริย์นั้น แม้โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นสถาบันรัฐสภา (parliamentary - institution) ดุจดังสภาทั้งสองที่กล่าวข้างต้น แต่เมื่อกล่าวถึงรัฐสภาอังกฤษเป็นองค์อำนาจสูงสุด ตามทฤษฎีเรื่องสภาวะสูงสุดของรัฐสภา คำว่ารัฐสภาในที่นี้ย่อมหมายถึงพระมหากษัตริย์ด้วย (King or Queen in Parliament) เพราะลำพังสภาทั้งสองหาทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงสุดไม่
สำหรับ ปัญหาที่ว่า ทฤษฎีเรื่องสภาวะสูงสุดของรัฐสภาหมายความว่าอย่างไร นักกฎหมาย รัฐธรรมนูญ อังกฤษอธิบายว่ามีความหมายพิเศษสองประการคือ
๑. การมีอำนาจนิติบัญญัติล้นพ้นหาที่สุดมิได้ ดังที่เดอลอล์ม (De Lolme) ได้อธิบายสรุปไว้ทำนองประชดประชันว่า “นักกฎหมายอังกฤษพึงรำลึกไว้เถิดว่ารัฐสภาอังกฤษมีอำนาจบันดาลได้สารพัดใน ปฐพี จะมียกเว้นก็แต่การแปลงหญิงให้เป็นชาย หรือการแปลงชายให้เป็นหญิงเท่านั้น”
๒. การทรงไว้ซึ่งอำนาจนิติบัญญัติแต่ผู้เดียว องค์กรหนึ่งๆ ของรัฐสภา เช่น สภาสามัญ หรือสภาขุนนาง อาจมีอำนาจนิติบัญญัติเอกเทศ แต่ก็เป็นการมอบอำนาจให้โดยรัฐสภา ซึ่งจะเรียกกลับเสียเมื่อใดก็ได้ ยิ่งกว่านั้นเมื่อรัฐสภาออกกฎหมายใด สถาบันอื่นใด เช่นศาลจะกล่าวหาว่ากฎหมายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญมิได้ เพราะแท้จริงแล้วกฎหมายนั้นอาจมีผลเป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ยกเลิกฉบับเก่า ก็ได้ตามกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า (lex posterior derogat legi priori)

ข้อจำกัดอำนาจในทางทฤษฎีอาจแบ่งออกได้ดังนี้
๑. กฎหมายธรรมชาติ กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายแห่งศีลธรรม (Natural law, international law, rule of morality ) ไดซีย์อธิบายว่าแม้รัฐสภามีอำนาจสูงสุด แต่รัฐสภาจะออกกฎหมายที่ฝ่าฝืนมโนธรรม ศีลธรรมจรรยา กฎหมายธรรมชาติ หรือกฎหมายระหว่างประเทศมิได้
๒. พระราชอำนาจ (Royal prrerogative) ไดซีย์อธิบายว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจทางการเมือง (political power) และอำนาจทางสังคม (social power) ทรงเป็นที่เคารพรักของประชาชน ถ้าทรงไม่เห็นด้วยกับการร่างกฎหมายใดหรือทรงทักท้วงความข้อใดรัฐสภาควรโอ อนอ่อนผ่อนตามพระราชประสงค์
๓. กฎหมายพื้นฐาน (Fundamental law) ไดซีย์กล่าวว่าในกรณีที่รัฐสภาออกกฎหมายสำคัญๆ ที่เป็นพื้นฐานทางสังคม เช่น กฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนรัฐสภาสมัยหลังๆ จะรีบด่วนออกกฎหมายเปลี่ยนแปลงกฎหมายพื้นฐานไม่ได้

กระนั้นก็ตามทางปฏิบัติ รัฐสภาอาจตกอยู่ใต้อำนาจข้อจำกัดอำนาจบางข้อโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวซึ่งไดซีย์อธิบายดังนี้
๑. ทฤษฎีเจ้าของอำนาจอธิปไตย (doctrine of sovereignty) ไดซีย์อ้างความเห็นของออสติน ที่ว่าแม้อำนาจนิติบัญญัติจะถูกใช้โดยรัฐสภาซึ่งประกอบด้วย สภาสามัญ สภาขุนนาง และ พระมหากษัตริย์ แต่เจ้าของอำนาจนิติบัญญัติที่แท้จริงได้แก่ประชาชนอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นจะถือว่ารัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดได้อย่างไร ในเมื่อประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกสภาสามัญ และเป็นผู้ให้ความเห็นชอบการเสวยราชสมบัติของพระมหากษัตริย์
๒. เหตุภายนอกอันอาจจูงใจสมาชิกรัฐสภา ไม่ให้ใช้อำนาจมาก (external limitation) ไดซีย์กล่าว่า พลังของประชาชนหรือกลุ่มอิทธิพล (Pressure group) เช่นกลุ่มนักศึกษา กลุ่มเกษตรกร กลุ่มนักวิชาการ อาจมีอิทธิพลเหนือสมาชิกรัฐสภา มิให้ใช้อำนาจสูงสุดของตนในทางที่ผิดทำนองคลองธรรมได้ เช่น สมาชิกรัฐสภาอาจอาจเกรงว่าถ้าออกกฎหมายประเภทนี้ไปแล้วอาจถกหนังสือพิมพ์ วิพากษ์วิจารณ์ อาจถูกมติมหาชนคัดค้าน อาจถูกโต้ตอบโดยนักวิชาการ หรืออาจถูกประชาชนเดินขบวนวางหรีดประท้วง เป็นต้น
๓. เหตุภายในอันอาจจูงใจสมาชิกรัฐสภาไม่ให้ใช้อำนาจมาก (intetnal limitation) เหตุภายในหมายถึง ทัศนคติ การศึกษาอบรม พื้นเพทางสังคมและการเมือง ตลอดจนค่านิยมของสมาชิกรัฐสภา เหตุเหล่านี้ย่อมกล่อมเกลาจิตใจของผู้นั้นให้เป็นไปในแนวทางที่ตนมีพื้นเพมา

แม้รัฐสภาจะมีอำนาจสูงสุด แต่ก็ไม่ต้องกลัวว่ารัฐสภาจะใช้อำนาจบาทใหญ่คุกคามประชาชน เพราะรัฐสภาย่อมกลัวพลังของประชาชน และสมาชิกสภาเองต่างก็มีที่มาจากสังคมนั้นๆ จึงมีจิตสำนึกทางกรเมืองสูง และมีวิญญาณของสุภาพชนในระบอบประชาธิปไตยอย่างครบถ้วน จึงเป็นที่หวังได้ว่าจะไม่ใช้อำนาจของตนออกนอกรีตนอกรอย

วิเคราะห์แนวคิดสำนักกฎหมายธรรมชาติ ตอนที่ 5

ตอนที่ 5
คุณประโยชน์ของสำนักกฎหมายธรรมชาติต่อโลก

จากประวัติศาสตร์ทางความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติ เป็นประวัติศาสตร์ของการค้นหาความยุติธรรมของมนุษยชาติ ที่เริ่มตั้งแต่สมัยกรีกเมื่อสองพันปีเศษมาแล้ว สำนักกฎหมายธรรมชาติมีความคิดทางกฎหมายว่า กฎหมายเป็นเรื่องของเหตุผล ดังคำกล่าวของ Cicero ที่ว่า กฎหมายอันแท้จริง คือ เหตุผลอันชอบธรรมที่สอดคล้องกับธรรมชาติ โดยมีผลใช้บังคับได้อย่างเป็นสากลไม่เปลี่ยนแปลงและเป็นนิรันดร์

การต่อสู้ทางความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติผ่าน มาหลายยุคหลายสมัย นับแต่ยุคกรีกโบราณและโรมัน (ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5 โดยประมาณ) , ยุคมืดและยุคกลาง (คริสต์ศตวรรษที่ 12-16 โดยประมาณ) , ยุคฟื้นฟูและยุคปฏิรูป (ยุคฟื้นฟูอยู่ในช่วงคริสศตวรรษที่ 14 16 โดยประมาณ ส่วนยุคปฏิรูปอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยประมาณ) , ยุคชาติรัฐนิยม (คริสต์ศตวรรษที่ 18 ) จนกระทั่งมาถึงยุคปัจจุบัน (ปรัชญากฎหมายธรรมชาติร่วมสมัย) ในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้มีแนวคิดจากนักคิดในสำนักกฎหมายธรรมชาติที่ สำคัญ ๆ หลายท่าน อาทิ เช่น plato , Aristotle , Cicero , St. Thomas Aquinas , Hugo Grotius , Samuel Pufendorf , Montesquieu , John Locke , Christian Thomasius , Jean Jacques Rousseau ก่อให้เกิดทฤษฎีต่าง ๆ เช่นทฤษฎีสัญญาประชาคม , ทฤษฎีแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตย เป็นต้น ถ่ายทอดต่อมาและส่งทอดต่อไปถึงสมัยใหม่ภายหลังอย่างไม่ขาดตอน

ความคิดกฎหมายธรรมชาติสมัยใหม่ มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อระบบกฎหมายใหม่ของยุโรปตะวันตก โดยทำให้กฎหมายสมัยใหม่เป็นระบบที่มีเหตุผล และคำนึงถึงมนุษยธรรม เป็นความพยายามที่จะให้เหตุผลตามธรรมชาติซึงมนุษย์สามารถเข้าใจได้มาจัดทำระบบกฎหมายบ้านเมือง(Positive Law) ใหม่แทนความคิดและความเชื่อของศาสนจักร ต่อมามีการนำความคิดตามกฎหมายธรรมชาติมาแยกแยะและวิเคราะห์แล้วมาบัญญัติเป็นกฎหมายบ้านเมือง (Positive Law) ในลักษณะของกฎหมายลาย ลักษณ์อักษร เน้นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเอกชนและการปกครองที่มีอำนาจจำกัด จนกระทั่งนำไปสู่การปฏิวัติใหญ่ 2 ครั้งในโลก นั่นคือ การประกาศอิสรภาพของอเมริกาจากอาณานิคมของอังกฤษ ใน ปี ค.ศ. 1787 และการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1789 มีการนำเอาแนวคิดของปราชญ์เมธีมาบัญญัติเป็นกฎหมาย ดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา และ คำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองฝรั่งเศส

ในสมัยใหม่นี้ กฎหมายธรรมชาติในฐานะที่เป็นกฎหมายอุดมคติได้กลายเป็นเครื่องมือในการวิจารณ์สังคม กฎหมายธรรมชาติจะเป็นทฤษฎีนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปทิศทางที่ดีกว่า ซึ่งก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อโลกเป็นอย่างยิ่ง ดังตัวอย่าง เช่น

1. ระบบทาส นักกฎหมายธรรมชาติยืนยันว่าระบบทาสเป็นสิ่งที่ขัดกันอย่างรุนแรงกับธรรมชาติ การจับคนไปเป็นวัตถุหรือทรัพย์สินที่ซื้อขายกันได้นั้นขัดกับหลักกฎหมายธรรมชาติ ในที่สุดระบบทาสก็ถูกล้มเลิกไป

2. ระบบวิธีพิจารณาแม่มด หรือระบบที่เรียกว่าทรมานร่างกายเพื่อรักษาดวงวิญญาณ ผู้ใดมีบุคลิกแตกต่างจากบุคคลอื่นในสังคม จะกลายเป็นผู้สื่อสารกับภูตผีปีศาจซึ่งเป็นศัตรู

ของพระผู้เป็นเจ้า ผู้นั้นจึงเป็นศัตรูกับธรรมะ มีความผิดฐานเป็นพ่อมดหรือแม่มด จึงใช้วิธีทรมานเพื่อให้สารภาพความจริง มีการทรมานเพื่อให้รับสารภาพและซัดทอดไปยังบุคคลอื่นทั้งที่ปราศจากความจริง ก่อให้เกิดการฆ่ากันอย่างมากมาย นักกฎหมายเห็นว่าเป็นการขัดกับหลักกฎหมายธรรมชาติ จึงต่อสู้เรียกร้องให้มีวิธีพิจารณาความที่เป็นธรรม โดยจะต้องตั้งข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ ได้ว่าเขากระทำความผิดจริงตามคำกล่าวที่ว่า ปล่อยผู้กระทำความผิดสิบคนดีกว่าลงโทษผู้บริสุทธิ์คนเดียว ในสมัยใหม่จึงมีระบบกฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาความอาญาอย่างที่เป็นอยู่ใน สมัยปัจจุบันนี้

3. ระบบราชทัณฑ์ ระบบในสมัยนั้นเลวร้ายมาก ผู้ที่ถูกจำคุกจะมีชีวิตที่ไม่ต่างจากสัตว์ นักกฎหมายธรรมชาติจึง ต่อสู้ให้มีการแปลงระบบราชทัณฑ์เสียใหม่ เพื่อผู้ต้องโทษจะได้มีชีวิตที่ดีพอสมในฐานะมนุษย์ มีโอกาสกลับตัวเป็นคนดี จึงเกิดทฤษฎีการลงโทษเพื่อเยียวยารักษาผู้กระทำผิดคืนกลับสู่สังคมได้ แทนทฤษฎีการลงโทษเพื่อแก้แค้นผู้กระทำผิด

4. ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย สำนักกฎหมายธรรมชาติเชื่อในธรรมชาติของ มนุษย์ที่จะมีเสรีภาพในการปกครองต้นเอง การต่อสู้เพื่อจัดระเบียบการปกครองให้สังคมมีเสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพจึงอุบัติขึ้น การปฏิวัติของฝรั่งเศสก็ดี การต่อสู้เพื่อเอกราชของสหรัฐอเมริกาก็ดี เป็นการต่อสู้ตามแนวความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาตินั่นเอง

บทสรุป

กฎหมายธรรมชาติมีลักษณะดังต่อไปนี้

1. กฎหมายเป็นเรื่องของเหตุผล กฎหมายที่แท้จริง คือ เหตุผลที่ถูกต้อง

2. กฎหมายธรรมชาติมีลักษณะทั่วไป

3. กฎหมายธรรมชาติผูกพันทุกคนให้ต้องปฏิบัติตาม

4. กฎหมายธรรมชาติมีค่าบังคับเหนือกว่า กฎหมายที่มนุษย์บัญญัติขึ้น

5. กฎหมายธรรมชาตินี้มีอยู่ภายในจิตใจของคน มนุษย์สามารถที่จะค้นพบว่าอะไรผิด-ถูก

6. กฎหมายธรรมชาติมีลักษณะสากลไม่เปลี่ยนแปลง
โดยทฤษฎีกฎหมายส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องการพิจารณาแนวความคิดระหว่างกฎหมายธรรมชาติและกฎหมายบ้านเมือง แต่ทฤษฎีกฎหมายสมัยใหม่เพิ่มมุมมองถึงการพิจารณาเรื่องของการเมืองด้วย  สาระสำคัญของทฤษฎีกฎหมาย คือ การอธิบายกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอกที่ไม่ใช่กระบวนการบัญญัติกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติหน่วยเล็กๆบางทฤษฎี เช่น Constitutive theories เห็นว่า กฎหมายบ้านเมืองไม่สมบูรณ์ในขณะที่กฎหมายธรรมชาติไม่ใช่กฎหมายที่แท้จริง ส่วน Evaluative theories เห็นว่า กฎหมายบ้านเมืองเป็นเรื่องที่ต้องยอมรับการถูกวิจารณ์ (criticism) ยิ่งกว่านั้นเนื้อหาของกฎหมายบ้านเมืองที่ไม่มีเหตุผลแท้จริงที่ถูกต้อง ก็ไม่เป็นที่ยอมรับ
ข้าพเจ้าเห็นว่า การนำหลักการของกฎหมายธรรมชาติมาปรับใช้เป็นกฎหมายบ้านเมืองนั้นเป็นไปตามเหตุผล อุดมคติ และปรัชญา ที่ปัจเจกบุคคลผู้ร่างกฎหมายนั้นๆ เชื่อถือ แต่เนื่องจากกฎหมายก่อให้เกิดหน้าที่ต่างๆ หลายประการ ไม่เพียงเฉพาะกำหนดโครงสร้างทางการเมืองที่จำเป็นต้องกำหนดโดยกฎหมายเท่านั้น ดังนั้น ผู้ร่างกฎหมายจึงควรตระหนักถึงและค้นหากฎเกณฑ์ความประพฤติ ที่มาจากจารีตประเพณี ศีลธรรม หรือศาสนา ของสังคมไทยในเบื้องต้น แล้วกำหนดกฎหมายของบ้านเมืองให้สูงกว่ามาตรฐานเบื้องต้นนั้น มิใช่ลอกเลียนกฎหมายฝรั่งแต่เพียงอย่างเดียว

บรรณานุกรม

จรัญ โฆษณานันท์. นิติปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่สอง. กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2532

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร,”ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ และนัยยะเชิงทฤษฎี

ต่อการพัฒนาประชาธิปไตย” (น. 63-92) ขบวนการประชาสังคมไทย: ความเคลื่อนไหว

ภาคพลเมือง. อนุชาติ พวงสำลีและกฤตยา อาชวนิจกุล บรรณาธิการ. นครปฐม:

โครงการวิจัยและพัฒนาประชาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2542

นิภาพรรณ ไชยมงคล. นิติปรัชญาในมังรายศาสตร์. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2531.  , 180 หน้า.

พัชรินทร์ เปี่ยมสมบูรณ์. การปฏิรูปกฎหมายของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2411 จนถึง

พ.ศ.2478. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517. 4 แผ่น

ยีน ชาร์ป. อำนาจและยุทธวิธีไร้ความรุนแรง. แปลโดยชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และคมสันต์ หุตะแพทย์ พิมพ์ครั้งแรก กรุงเทพ: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2529
[1] แนวคิดทฤษฎีของสำนักกฎหมายธรรมชาตินั้น สิทธิเสรีภาพดั้งเดิมของมนุษย์ที่รับรองบัญญัติไว้จะไปจำกัดไม่ได้ เว้นแต่เข้าข้อยกเว้น (ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 29 ก็รับรองแนวคิดนี้ โดยบัญญัติว่า การจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิได้) ส่วนข้อยกเว้นอาจใช้ (1) เงื่อนไขกฎหมายทั่วๆไป เช่น เสรีภาพในเคหสถานอาจถูกจำกัดโดย ป.วิ.อ. (2) เงื่อนไขของกฎหมายเฉพาะ เช่น รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 34 ว.2 การจำกัดเสรีภาพในการเดินทางและเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ต้องอาศัยอำนาจตามกฎหมายเฉพาะ เป็นต้นว่ากฎอัยการศึก (3) ใช้เงื่อนไขกฎหมายใดๆ ไปจำกัดสิทธิเสรีภาพไม่ได้ เช่น รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 37 ซึ่งใช้คำว่าเสรีภาพบริบูรณ์ จึงเพิ่มหรือลดไม่ได้เพราะจะไม่สมบูรณ์ในตัวของมันเองอีก

[2] ความยินยอมดังกล่าวสามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้ (1) ความยินยอมทั่วไป เช่น ยินยอมเพราะเชื่อว่าอยู่ยงคงกระพัน (2) ยินยอมเพื่อประโยชน์ของตนเอง เช่น การรักษาพยาบาล การผ่าตัด (3)ยินยอมเพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น ทหารญี่ปุ่นขับเครื่องบินชนเรืออเมริกาในสงครามโลกครั้งที่ 2 (4) ความยินยอมในทางศีลธรรม เช่น บริจาคอวัยวะเพื่อช่วยเหลือ (ก)คนทั่วไป (ข)บุคคลในครอบครัว แต่ทั้ง 4 กรณีนั้น แนวคิดทฤษฎีของสำนักกฎหมายธรรมชาติไม่สามารถทำได้ เพราะสิทธิในชีวิตร่างกายมีอยู่ตามธรรมชาติ มนุษย์ไม่ได้กำหนดขึ้นเอง มนุษย์จึงไม่สามารถให้คนอื่นทำร้ายชีวิตหรือร่างกายได้โดยใช้หลักความยินยอม แต่ในเรื่องสิทธิในทรัพย์สิน มีประเด็นถกเถียงของสำนักกฎหมายธรรมชาติระหว่าง เพลโต ซึ่งเห็นว่าทรัพย์ทั้งหลายในโลกเป็นกรรมสิทธิ์รวม ไม่มีใครเป็นเจ้าของเด็ดขาด แต่อริสโตเติ้ลกลับเห็นว่ากรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลเกิดขึ้นได้ ไม่ได้เคร่งครัดเหมือนสิทธิในชีวิตร่างกาย เพราะโดยธรรมชาติหรือสัญชาติญาณของมนุษย์มีความต้องการที่จะเป็นเจ้าของ

[3] แนวคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติถือว่าชีวิตมนุษย์เป็นสิทธิตามธรรมชาติที่ มนุษย์ไม่ได้กำหนดขึ้นและเป็นสิทธิที่มนุษย์ได้รับในฐานะที่เป็นมนุษย์ เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ก็มีสิทธิในร่างกายของตน ไม่ใช่สิทธิที่มนุษย์มีอำนาจแต่ได้รับเพราะเกิดเป็นมนุษย์ ดังนั้น มนุษย์ไม่สามารถฆ่าตัวเองได้ และการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ในปัจจุบันที่ถือว่าการฆ่าตัวตายไม่เป็นความผิดจึงไม่ใช่แนวคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติ

[4] กรณีโทษประหารชีวิต ต้องพิจารณาถึงปรัชญาของกฎหมายอาญา 1.ในเรื่องการสร้างสมดุลหรือการหาสมดุลระหว่างการลงโทษกับการกระทำความผิด ว่าอยู่ตรงไหน และ 2.ในเรื่องการคุ้มครองสังคม กล่าวคือ หากพิจารณาว่าถ้ากระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นนั้นสมควรได้รับโทษประหารตามไป ด้วย เป็นการหาจุดสมดุลของโทษกับการกระทำความผิดที่เกิดขึ้น

วิเคราะห์แนวคิดสำนักกฎหมายธรรมชาติ ตอนที่ 4


ผลของความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติ

การศึกษาถึงความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติสอนเราว่า แม้ขณะนี้จะถือว่ากฎหมายธรรมชาติไม่ได้มีอยู่จริง แต่มีหลักยุติธรรมเป็นกลางๆ อยู่ ซึ่งทั่วโลกได้ยอมรับรอง ซึ่งในการบัญญัติกฎหมายก็ ดี ในการพิพากษาอรรถคดีก็ดี สภานิติบัญญัติและผู้พิพากษาจะต้องยึดไว้เป็นแนวทาง และเพื่อให้เป็นหลักฐานมั่นคง ประเทศฝรั่งเศสในสมัยปฏิวัติได้ประกาศปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และ พลเมือง ซึ่งปฏิญญานี้แม้รัฐธรรมนูญเดอโกลก็ได้รับว่าคงใช้อยู่ต่อไป ดังปรากฏในคำปรารภของรัฐธรรมนูญ และเมื่อได้มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น ก็ได้มีประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนดังกล่าว ฉะนั้นแม้จะไม่ปรากฏในปฏิญญาสากลฯ นักกฎหมายในการตีความและอุดช่องว่างแห่งกฎหมายก็ควรจะคิดถึงคุณงามความดีเป็นเครื่องนำทางดุลกัน

ความเป็นสากลเป็นนิรันดรของกฎหมายธรรมชาติหมาย ความว่าอย่างไร ล้วนแต่เป็นปัญหาที่นักปราชญ์ได้ขบคิดตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงสมัยปัจจุบัน และยังคงเป็นปัญหาที่จะต้องค้นคิดกันต่อไป ยังไม่เป็นที่ยุติกันได้ จึงเป็นจุดอ่อนให้มีผู้โจมตีคัดค้านได้มาก โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 จนมีผู้สรุปเอาง่ายๆ ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่า ความคิดสำนักกฎหมายธรรมนิยม ดังกล่าวนี้ไม่มีมูลความจริง ไม่มีความหมาย และจะต้องเสื่อมสูญไปในที่สุด แต่จากประสบการณ์ที่ได้รับจากระบบเผด็จการของฮิตเลอร์ซึ่งได้ก่อกรรมทำเข็ญ โดยชอบด้วยกฎหมายของบ้านเมือง ทำให้นักคิดในยุโรปสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สองกลับมานับถือและเน้นความสำคัญของกฎหมายธรรมชาติ เพราะมนุษย์จะต้องพยายามหาหลักการบางอย่างเพื่อมาวินิจฉัยความถูกผิดของการกระทำของรัฐ ในเมื่อกฎหมายบ้านเมืองไม่สามารถจะช่วยเหลือได้ ทำให้ความคิดของสำนักธรรมนิยม ได้กลับฟื้นคืนชีพและรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง และในระยะหลังนี้กระบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนก็เป็นส่วนหนึ่งของการ ฟื้นฟูความคิดสำนักธรรมนิยมด้วย

วิเคราะห์ทฤษฎีสำนักกฎหมายธรรมชาติ

ธรรมชาตินั้น ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างหรือกำหนดขึ้น แต่เป็นสิ่งที่มนุษย์ค้นพบ เพราะมนุษย์มีความสงสัย มีเหตุผล และมีสติปัญญา จึงค้นพบกฎเกณฑ์ กติกาเหล่านั้น

ความสงสัยเป็นตัวกระตุ้นในการพัฒนาการของมวลมนุษยชาติ เช่น สงสัยว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเกิด ขึ้นได้อย่างไร ทำให้มนุษย์พยายามหาคำตอบ และคำตอบที่นำไปอธิบายสิ่งที่สงสัยเหล่านั้นคือเหตุผล เมื่อมนุษย์เลิกสงสัยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแล้ว มนุษย์ก็เริ่มมาสงสัยสิ่งรอบตัว และตัวมนุษย์เองเกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพที่มนุษย์มีอยู่ เช่น ทำไมสิ่งของในธรรมชาติไม่ มีเจ้าของ มนุษย์ไปไหนมาไหนก็ได้โดยไม่มีกฎเกณฑ์ กติกาจำกัดสิทธิเสรีภาพ หรือทำไมไม่มีกฎเกณฑ์กำหนดชีวิตของมนุษย์  แต่เมื่อใช้เหตุผลอธิบายเพื่อหาคำตอบก็พบว่า ความจริงสิ่งเหล่านั้นมีกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติกำหนดอยู่ว่ามนุษย์จะใช้สิทธิได้เพียงใด มีเสรีภาพได้เพียงใด

สิทธิเสรีภาพที่มนุษย์มีนั้นมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เพียงแต่มนุษย์ไปค้นพบ และสิทธิเสรีภาพในยุคก่อนได้พัฒนาการต่อมาโดยบัญญัติไว้ในกฎหมาย เช่น สิทธิในชีวิตร่างกาย และเสรีภาพในเคหสถาน (หมายเหตุ: ประเด็นปัญหาที่ตามมาคือสิทธิเสรีภาพจะถูกจำกัดได้หรือไม่[1] เช่น ยอมให้ตำรวจค้นบ้านโดยไม่มีหมายค้นได้หรือไม่ หรือยินยอมให้ผู้อื่นทำร้ายชีวิตและร่างกายได้หรือไม่[2] หรือทำร้ายตัวเองได้หรือไม่ เช่น การฆ่าตัวตาย[3] หรือกรณีโทษประหารชีวิต[4])

กฎเกณฑ์ทางธรรมชาติอยู่ในรูปกฎหมายนามธรรม มีองค์ประกอบเป็นความยุติธรรม เหตุผล และศีลธรรม เหตุผลที่ใช้อธิบายกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ (ซึ่งมีอยู่แล้วตามธรรมชาติและมนุษย์เป็นผู้ค้นพบนั้น) ประกอบด้วย 2 กรณี คือ

1. เหตุผลทางศีลธรรม หรือหลักต่างตอบแทน เป็นเหตุผลที่มีศีลธรรมมาเกี่ยวข้อง&n   กล่าวคือ หากเราไม่ประสงค์ให้ใครทำสิ่งใดกับเรา เราก็ไม่ทำสิ่งนั้นกับผู้อื่นเช่นเดียวกัน ได้แก่ เราไม่ต้องการให้ใครมาฆ่าเรา เราก็ต้องไม่ฆ่าหรือทำร้ายคนอื่น อันเป็นกฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ และใช้หลักต่างตอบแทนอธิบาย โดยหลักนี้เน้นไปใช้และเป็นพัฒนาการในกฎหมายอาญาในปัจจุบัน

2. หลักตรรกวิทยา เพราะมนุษย์มีสติปัญญาในการใช้หลักตรรกวิทยาในการอธิบายกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ เช่น ก เอารถของผู้อื่นไปขายให้ ข ซึ่งเป็นผู้รับโอน ข ย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าเจ้าของที่แท้จริง ทำให้ค้นพบหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน อันเป็นหลักที่มาของกฎหมายในปัจจุบัน

แนวคิดสำนักกฎหมายธรรมชาติในเรื่องศีลธรรม และความยุติธรรม

เนื่องจากกฎหมายธรรมชาติกับศีลธรรมเป็นเรื่องเดียวกัน ฉะนั้น สิ่งใดที่ขัดกับศีลธรรมจะทำไม่ได้ โซเครติส กล่าวว่า ความยุติธรรมนั้นมีอยู่ในตัวของมันเอง ใครจะเห็นหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญ การอธิบายความยุติธรรมนั้นจะอธิบายได้ด้วยเหตุผลเท่านั้น ส่วนเพลโต อธิบายความยุติธรรมด้วยการแบ่งคุณธรรมออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. ปัญญา 2. ความกล้าหาญ 3. ความอดทน 4. ความยุติธรรม  แล้วจัดชนชั้นไปใส่ในคุณธรรม โดยปัญญาจะต้องมีแก่ผู้ปกครอง ถ้ารัฐใดมีผู้ปกครองที่ไม่มีปัญญา รัฐนั้นก็มีปัญหาเรื่องการปกครอง ส่วนความกล้าหาญต้องมีแก่นักรบ ความอดทนต้องมีแก่สามัญชน และความยุติธรรม จะต้องมีแก่ทุกชนชั้น แต่อริสโตเติ้ลแบ่งความยุติธรรมเป็น 2 ลักษณะ คือ ความยุติธรรมทั่วไป และความยุติธรรมเฉพาะเรื่อง

ความยุติธรรมทั่วไปยังแบ่งเป็น 1.ความยุติธรรมตามธรรมชาติ และ 2.ความยุติธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น    ความยุติธรรมตามธรรมชาติเป็น ความยุติธรรมที่เป็นสากล ไม่ขึ้นอยู่กับการยอมรับของบุคคลใด ส่วนความยุติธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ป้ายจราจร ป้ายห้ามจอด  อริสโตเติ้ล กล่าวว่ามนุษย์สมมุติขึ้น สร้างกฎเกณฑ์กติกาขึ้นมาว่าป้ายห้ามจอดนี้เป็นความยุติธรรมแก่สังคม เป็นความมีระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง เป็นความยุติธรรมที่ไม่มีอยู่ดั้งเดิม แต่มนุษย์กำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาสร้างความยุติธรรมขึ้นแก่สังคม

ส่วนความยุติธรรมเฉพาะเรื่องแบ่งเป็น 1.ความยุติธรรมในการจัดสรรปันส่วน ซึ่งใช้หลักเรื่องความเหมาะสมเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ความยุติธรรมในลักษณะนี้จึงไม่ได้ตกหรือเกิดแก่ทุกคน เช่น เรื่องอำนาจ หน้าที่ ยศ ตำแหน่ง  2.ความยุติธรรมในการแลกเปลี่ยนทดแทน  ในการแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน เช่น ซื้อขาย ส่วนการทดแทนเป็นการทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลหนึ่งบุคคลใดอัน เกิดจากการละเมิดกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ธรรมชาติ บุคคลดังกล่าวย่อมได้รับการทดแทน เป็นลักษณะของความยุติธรรมเฉพาะเรื่อง ไม่ได้เกิดแก่ ก หรือ ข แต่ทดแทนให้เฉพาะคนที่ได้รับความเสียหาย

สรุปแล้วแนวคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติมีหลักพื้นฐาน คือ

1. เป็นสากล คือ มีอยู่ตามธรรมชาติทั่วไป ที่ไหนมีมนุษย์ที่นั่นก็มีกฎเกณฑ์ธรรมชาติในลักษณะของกฎเกณฑ์ซึ่งเป็นสากล

2. เป็นกฎหมายที่ใช้ได้ทุกกาลเวลา ทุกสถานที่ ไม่จำกัดขอบเขตหรืออำนาจอธิปไตย

3. เป็นกฎหมายที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติแล้วมนุษย์ไปค้นพบ

แนวคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติเปรียบเทียบกับกฎหมายปัจจุบัน

1. เหตุแห่งการหย่า ไม่ขัดต่อกฎหมายธรรมชาติ เพราะแนวคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติถือว่าเป็นการที่มนุษย์จะกำหนดเสรีภาพของตนที่จะไปอยู่กับใครและจะใช้ชีวิตอย่างไร

2. การได้ชีวิต เช่น นาย ก กับนาง ข แต่งงานจดทะเบียนสมรส แต่ไม่สามารถมีบุตรได้ จึงไปจ้างนางสาว จ ใช้วิทยาศาสตร์ในการทำกิ๊ฟ เมื่อครบกำหนดคลอดเด็กชาย ช ดังนี้ แม้การจ้างดังกล่าวไม่ได้เป็นการทำลายชีวิต แต่เป็นการได้ชีวิต จึงไม่ขัดต่อกฎหมายธรรมชาติ  ส่วนการจ้างเป็นเรื่องของสัญญาให้พิจารณาว่าขัดหลักเกณฑ์กฎหมายปัจจุบันหรือไม่ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่  และบุตรที่เกิดเป็นบุตรของใคร ซึ่งตามกฎหมายธรรมชาติและกฎหมายปัจจุบันผลเหมือนกัน คือ นางสาว จ ได้ค่าจ้าง (แสดงว่าสัญญาใช้บังคับได้) และได้บุตรด้วย

3.การคุมกำเนิด เมื่อปี 1965 รัฐคอนเนคติกัส ในอเมริกาออกกฎหมายห้าม คู่สมรสคุมกำเนิด คู่สมรสรวมตัวกันฟ้องต่อศาลว่า กฎ ระเบียบ ข้อบังคับดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลพิจารณาแล้วตัดสินว่ากฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือกฎหมายที่รัฐออกมานั้นขัดรัฐธรรมนูญ และขัดกับลักษณะแนวคิดของกฎหมายธรรมชาติ การห้ามคุมกำเนิดจึงทำไม่ได้   (แนวคิดนี้นำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา ที่สามีภริยาหรือหญิงชายจดทะเบียนสมรสกัน และทำสัญญาจะไม่ร่วมหลับนอน สัญญานี้ใช้บังคับตามกำหมายปัจจุบันได้หรือไม่ และขัดกับกฎหมายธรรมชาติหรือไม่)

4. การบริจาคอวัยวะ เช่น พ่อแม่ให้ลูกสาวบริจาคไตให้แก่น้องซึ่งไตพิการและต้องการไตด่วน แม่ให้ความยินยอมให้ลูกสาวบริจาคแล้ว แต่โรงพยาบาลไม่ยอมผ่าตัดเปลี่ยนไตให้และนำคดีไปฟ้องศาลในรัฐเท็กซัส แต่ศาลตัดสินว่าการที่พ่อแม่ให้ความยินยอมให้ลูกสาวบริจาคไตให้น้องนั้น ไม่มีลักษณะบังคับ ขู่เข็ญ และหากไม่ผ่าตัดเปลี่ยนไตให้น้อง พี่ก็จะมีความทุกข์ทรมานในทางจิตใจ และการบริจาคนั้นก็ไม่ได้รับความลำบากทางกายภาพที่จะถึงแก่ชีวิตและร่างกาย ทั้งการบริจาคนั้น พี่สาวจะได้รับประโยชน์มากกว่าการไม่บริจาค  แนวคิดของศาลรัฐเท็กซัสจึงเป็นไประบบจารีตประเพณี แต่ตามกฎหมายธรรมชาติแล้ว ไม่สามารถบริจาคได้ เพราะบุคคลใด(แม้จะเป็นพี่น้องกัน)เอาอวัยวะออกจากร่างกายไม่ได้ ถ้าไม่ใช่เพื่อการรักษาพยาบาลของตัวเจ้าของอวัยวะเอง

5.การให้เลือด เช่น กรณีผู้ป่วยเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร แพทย์ลงความเห็นว่าจะต้องมีการถ่ายเลือดและให้เลือด แต่ผู้ป่วยไม่ยินยอมอ้างว่านับถือพระยะโฮวา แพทย์ต้องการช่วยชีวิตผู้ป่วยอ้างว่าเพื่อประโยชน์ของสังคมเพื่อประโยชน์ของ มนุษย์ แต่ผู้ป่วยก็ไม่ยินยอม จึงมีการนำคดีสู่ศาลในรัฐอิลินอย ซึ่งศาลตัดสินตามแนวกฎหมายธรรมชาติว่า แพทย์ทำไม่ได้ โดยให้เหตุผลเรื่องเสรีภาพบริบูรณ์ในการเลือกนับถือศาสนา แม้แพทย์จะอ้างว่าเพื่อประโยชน์ของสังคม แต่การปกป้องชีวิตพลเมือง สาธารณสุข ความปลอดภัยและสวัสดิการไม่สมควรเข้าไปแทรกแซงความเชื่อทางศาสนา การปฏิเสธของผู้ป่วยดังกล่าวนั้น ผู้ป่วยก็ทราบอยู่แล้วว่าสิ่งที่จะตามมาคือความตาย กรณีข้างต้นคล้ายกับรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 37 ในเรื่องของเสรีภาพบริบูรณ์ ที่จะใช้หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขใดๆ มากำหนดหรือจำกัดสิทธินั้นไม่ได้

6. ห้ามไม่ให้รักษาพยาบาล เช่น ผู้ป่วยหญิงอายุ 76 ปี โทรศัพท์เรียกหมอประจำตัวให้ไปรักษาตนเองที่บ้านเป็นการด่วน แต่เมื่อหมอไปถึงพบว่าหญิงนั้นหมดสติ เพราะกินยานอนหลับเกินขนาด ในมือเขียนข้อความว่า เรียน คุณหมอ อย่านำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลหมอเห็นว่าอาการหนักไม่สามารถช่วยชีวิตได้แล้ว จึงปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้ป่วยโดยไม่นำส่งโรงพยาบาล แต่นั่งดูเป็นเพื่อนหญิงนั้นตาย คดีนี้หมอถูกฟ้องที่ศาลเยอรมัน ศาลสูงเยอรมันตัดสิน (ตามกฎหมายธรรมชาติ) ว่า หมอมีไม่มีความผิดอาญา เพราะในสภาวการณ์ที่หมออยู่นั้น หมอไม่สามารถช่วยอะไรได้มากไปกว่านั้น การที่หมอนั่งดูผู้ป่วยจนผู้ป่วยตายไป ถือว่าหมอได้ทำหน้าที่ในลักษณะหนึ่งแล้ว

วิเคราะห์แนวคิดสำนักกฎหมายธรรมชาติ ตอนที่ 3

การเกิดของกฎหมายธรรมชาติ

นักปราชญ์มีความคิดเห็นแตกต่างกัน แต่พอสรุปได้ว่ากฎหมายธรรมชาติเกิดได้ 3 ทาง กล่าวคือ

1. กฎหมายธรรมชาติเกิดจากธรรมชาติโดยตรง เหมือนอย่างกฎแห่งแสงสว่าง กฎแห่งความร้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่มีมาเองตามธรรมชาติ

2. กฎหมายธรรมชาติเกิดจากพระเจ้า โดยพระเจ้าเป็นผู้กำหนดให้มีขึ้นและกษัตริย์เป็นผู้ใช้กฎหมายธรรมชาตินั้น ความคิดนี้มาจากคริสต์ศาสนาซึ่งถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างมาจากพระเจ้าทั้งนั้น

3. กฎหมายธรรมชาติจากความรู้สึกผิดชอบของมนุษย์

ทั้งนี้ไม่หมายความว่ากฎหมายธรรมชาติเป็น สิ่งที่มนุษย์จะคิดเองได้ตามใจชอบ เพราะมนุษย์แต่ละคนยังมีความคิดเห็นไปในทางคุ้มครองรักษาประโยชน์ส่วนตัว อยู่ แต่มนุษย์ย่อมรู้สึกว่ากฎหมายธรรมชาติย่อม มีอยู่อันเกิดมาจากความรู้สึกผิดชอบของมนุษย์เอง เช่น เมื่อมนุษย์ไม่อยากถูกกดขี่ข่มเหง ตัวเองก็ไม่ควรที่จะกดขี่ข่มเหงเบียดเบียนผู้อื่น เป็นต้น

(หยุด แสงอุทัย 2518: 130)

ลักษณะของกฎหมายธรรมชาติ

กฎหมายธรรมชาติมีลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ

1. ใช้ได้โดยไม่จำกัดเวลา

กล่าวคือ กฎหมายธรรมชาติย่อมใช้ได้เสมอไป ไม่มีเวลาล่วงพ้นสมัยจึงไม่มีเวลาที่จะถูกยกเลิก

2. ใช้ได้โดยไม่จำกัดสถานที่

กล่าวคือ กฎหมายธรรมชาติใช้ได้ทุกแห่ง เพราะเหมาะสมแก่การนำมาใช้ทุกสถานที่ไม่จำกัดว่าจะต้องใช้ในรัฐใดหรือท้องที่ใด

3. เหนือกฎหมายของรัฐ

กล่าวคือ รัฐจะออกกฎหมายให้ขัดแย้งกับกฎหมายธรรมชาติไม่ได้ ถ้ารัฐออกกฎหมายขัดแย้งกับกฎหมายธรรมชาติแล้วกฎหมายนั้นก็ใช้บังคับไม่ได้ (หยุด แสงอุทัย 2518: 131)

นักปราชญ์สำคัญที่ได้เสนอแนวความคิดกฎหมายธรรมชาติ ได้แก่ เฮราลิตัส (Heralitus) อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์กลุ่มสโตอิคส์ (Stoics) ซิเซโร (Cicero) เซนต์ทอมัสอไควแนส (St. Thomas Aquinas) ฮิวโก โกรติอุส (Hugo Grotius) วิลเลียมส์ แบล็คสโตน (William Blackstone) จอห์น ล็อค (John Locke) มองเตสกิเออ (Montesquieu) เดวิด ฮูม (David Hume) และอิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) (วิชา มหาคุณ 2527: 27)

ซิเซโร (Cicero)

ซิเซโร (106-43 ก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งเป็นนักปราชญ์คนสำคัญของโรมันและเชื่อมั่นในหลักกฎหมายธรรมชาติ ได้กล่าวว่า

กฎหมายที่แท้จริงนั้นคือเหตุผลที่ถูกต้องสอดคล้องกับธรรมชาติแผ่ซ่านไปในทุกสิ่งทุกอย่างสม่ำเสมอเป็นนิจนิรันดร์ เป็นกฎหมายที่ ก่อให้เกิดหน้าที่ที่จะต้องทำโดยคำสั่งหรือห้ามไม่ให้กระทำความชั่วโดยข้อ ห้าม เป็นหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่เราจะต้องไม่พยายามที่จะบัญญัติกฎหมายให้ขัดแย้งกับกฎหมายนี้ กฎหมายนี้ เราไม่อาจที่จะตัดทอนแก้ไขหรือเพิกถอนยกเลิกเสียได้ อันที่จริงแล้วไม่ว่าวุมิสภาหรือประชาชนก็ไม่มีอำนาจที่จะปลดปล่อยเราให้พ้น จากบังคับของกฎหมายนี้ และเราไม่จำต้องพึ่งบุคคลหรือสิ่งอื่นใดนอกจากตัวของเราเองที่จะเป็นผู้อธิบายให้เห็นว่ากฎหมายนั้นคืออะไรหรือตีความกฎหมายนั้นมีความหมายอย่างไร กฎหมายนี้ ไม่เป็นอย่างหนึ่งที่กรุงโรม และเป็นอีกอย่างหนึ่งที่เอเธนส์ หรือเป็นอย่างหนึ่งในขณะนี้และเป็นอีกอย่างหนึ่งในสมัยอื่น แต่ยังคงเป็นกฎหมายอันหนึ่งอันเดียวไม่เปลี่ยนแปลงเป็นนิรันดรและผูกพันบังคับทุกชาติทุกภาษีทุกยุคทุกสมัย (กุลพล พลวัน 2520: 8-10)

จากคำกล่าวของซิเซโร แสดงให้เห็นว่ากฎหมายธรรมชาตินั้นเป็นกฎหมายที่อยู่สูงกว่ากฎหมายที่มนุษย์บัญญัติขึ้นและเป็นหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ของมนุษย์ที่จะไม่บัญญัติกฎหมาย กฎหมายต่างๆ ขึ้นใช้ในบ้านเมืองให้ขัดกับกฎหมายธรรมชาตินี้ และแนวความคิดดังกล่าวนี้ได้เป็นเครื่องมือที่สำคัญของบรรดานักปราชญ์แต่ ครั้งโบราณคือตั้งแต่สมัยกรีก และสมัยโรมันที่ใช้ในการจำกัดอำนาจของกษัตริย์หรือผู้มีอำนาจปกครองซึ่งเห็น ว่ามีอำนาจมากเกินไป (กุลพล พลวัน 2520: 11)

จากแนวความคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาตินี้เอง ได้ทำให้เกิดความคิดเกี่ยวกับสิทธิธรรมชาติ เป็นผลสืบเนื่องตามมาโดยมีแนวความคิดอยู่ว่า มนุษย์เกิดมาเท่าเทียมกันและพระเจ้าซึ่งเป็นผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมาได้ให้ สิทธิบางอย่างแก่มนุษย์ สิทธิเหล่านี้ไม่อาจโอนให้แก่กันได้ และไม่มีใครจะล่วงละเมิดได้ ซึ่งได้แก่สิทธิในชีวิต เสรีภาพ และสิทธิในทรัพย์สิน และรัฐทั้งหลายจะต้องกระทำทุกอย่างเพื่อให้มนุษย์มีสิทธิเหล่านี้อย่างเต็ม ที่ วิธีการเช่นนี้ทำให้มนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์โลกที่ใช้เหตุผล ยอมรับว่าเป็นหลักที่ดี และเชื่อว่าจะทำให้มนุษย์อยู่ในสังคมอย่างสันติและมีความสุข นักปราชญ์ในสมัยก่อนได้ให้ความสำคัญแก่สิทธิธรรมชาติเป็นอย่างมากในฐานะที่เป็นสิ่งที่คู่กับกฎหมายธรรมชาติใน สมัยที่กรีกอยู่ในระยะรุ่งเรือง ประชาชนในนครรัฐกรีกได้รับรองซึ่งสิทธิที่สำคัญบางประการเช่นสิทธิในการพูด เท่าเทียมกัน (Isogoria) และสิทธิในความเสมอภาคกันตามกฎหมาย (Isonomia) ซึ่งสิทธิทั้งสองนี้ได้กลายเป็นสิทธิที่สำคัญยิ่งและถูกกล่าวอ้างกันเสมอในปัจจุบัน (ศิระชัย พุทธิแพทย์ 2497: 2)

สำนักธรรมนิยมหรือสำนักกฎหมายธรรมชาติ ในภาษาไทยเรามักจะกล่าวถึงว่า เรื่องนั้นเอ็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม โดยเราเข้าใจว่าในโลกนี้มีระบบ ระเบียบที่เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมอยู่ในตัวของมันเอง ระบบที่เป็นธรรมและไม่เป็นธรรมที่มีอยู่ในตัวของมันเองนี้เป็นความเชื่อของ ทุกชาติทุกภาษาทุกวัฒนธรรม เป็นระบบ ธรรมที่มนุษย์ไม่ได้สร้างมันขึ้น แต่มนุษย์ได้เอาระบบ ธรรมนี้มาใช้กับสภาพสังคมและบ้านเมืองของมนุษย์ มนุษย์ไม่สามารถที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ในระบบธรรมเช่นนั้นได้ แต่หากมีความจำเป็นเพื่อให้เหมาะสมกับกาลเทศะและคดีมนุษย์อาจใช้มาตรการ บางอย่างปรุงแต่ง เสริมกฎเกณฑ์ของระบบธรรมนั้นได้บ้าง ความคิดเช่นนี้มันมีอยู่ในวัฒนธรรมไทยมาแต่ดั้งเดิม กฎหมายขั้น ธรรมที่มีความสำคัญสูงยิ่งเราเรียกว่า พระธรรมศาสตร์ส่วนมาตรการที่มนุษย์กำหนดขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับกาลเทศะและคดีเราเรียกว่า พระราชศาสตร์” “ราชนิติประเพณีและที่ผู้ปกครองบ้านเมืองได้กำหนดขึ้นเฉพาะกรณีเราเรียกว่า พระราชบัญญัติพระราชกำหนด พระบรมราชโองการ แสดงให้เห็นว่าความคิดกฎหมายไทยแบบโบราณนั้นรับรู้ว่า กฎหมายที่มีอยู่ในบ้านเมืองนั้น มีหลายประเภทต่างลำดับชั้นกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบเนียนและใกล้ชิด

กฎหมายขั้น สูงชั้นธรรมศาสตร์แม้พระเจ้าแผ่นดินก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ พระเจ้าแผ่นดินตามความคิดของไทยโบราณเป็นผู้ดำเนินการและบังคับการตามกฎหมาย (ธรรมศาสตร์) และชี้ขาดตัดสินคดีตามกฎหมาย ทำนองเดียวกันความคิดเรื่องนิติบัญญัติจึงไม่มี จากคำว่า ธรรมศาสตร์เราจะเห็นได้ชัดว่า กฎหมายกับ ธรรมหรือความเป็นธรรมเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ ความคิดเกี่ยวกับกฎหมายของไทยที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ชัดว่า มีหลักการพื้นฐานที่ตรงกับความคิดชาติอื่นๆ โดยเฉพาะตรงกับความคิดของสำนัก Natural Law ตามที่เข้าใจในวัฒนธรรมตะวันตก (ปรีดี เกษมทรัพย์ 2526: 314)

วิเคราะห์แนวคิดสำนักกฎหมายธรรมชาติ ตอนที่ 2

ตอนที่ 2
ในแง่ของนิติปรัชญา มีหลายสำนักความคิดทางกฎหมายที่มีความเห็นแตกต่างและขัดแย้งกันในการให้คำจำกัดความของกฎหมาย โดยแบ่งออกเป็น 3 สำนักความคิดใหญ่ดังนี้ (ปรีดี เกษมทรัพย์ 2526: 249)

1. สำนักกฎหมายธรรมนิยมหรือสำนักกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law School)

2. สำนักกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง (Legal Posiluvism)

3. สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ (Historical School)

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

สำนักกฎหมายธรรมนิยมหรือสำนักกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law School)

วิวัฒนาการของกฎหมายธรรมชาติ

1. ยุคเริ่มต้น กฎหมายธรรมชาตินั้นเป็นการพยายามของมนุษย์ที่จะค้นหาความยุติธรรมที่แท้จริง และความยุติธรรมที่แท้จริงที่มนุษย์ค้นพบนั้น คือ ลักษณะกฎหมายในอุดมคติหรือกฎหมายธรรมชาติ ดังนั้น กฎหมายธรรมชาติจึงขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสภาพสังคมหรือภูมิปัญญาของนักปราชญ์ในแต่ละยุค (นักปราชญ์กฎหมายธรรมชาติสรุป ความเห็นเหมือนกันว่าโลกหรือจักรวาลนั้นเป็นสิ่งที่มีระบบ ไม่ได้โดดเดี่ยวหรือไร้สาระ แต่ถูกกำกับด้วยศีลธรรม ซึ่งระบบหรือระเบียบหรือศีลธรรมนั้นต้องเป็นสากล เรียกว่ากฎหมายธรรมชาติ

2. ยุคที่สอง เป็นการยืนยันว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้นมีเหตุผล มนุษย์สามารถแยกความรู้สึกผิดชอบชั่วดีได้

3. ยุคที่สาม กฎเกณฑ์ที่มนุษย์ใช้อยู่ในสังคมเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายธรรมชาติ  (ธรรมชาติ ความยุติธรรม และศีลธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด) เช่น การพิจารณาคดีในระบบ common law หรือระบบจารีตประเพณี แนวคิดพื้นฐานในคดีอาญานั้น บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถชี้ผิดชี้ถูกได้ ดังนั้น การใช้ระบบลูกขุนก็มีพื้นฐานจากสำนักกฎหมายธรรมชาติที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีกฎเกณฑ์ตามธรรมชาติอยู่ในตัว สามารถแยกแยะชี้ผิดชี้ถูกในคดีอาญาได้ โดยไม่ต้องเรียนจบกฎหมาย แต่ในกรณีที่เป็นกฎหมายเทคนิค เช่น กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งไม่ใช่กฎหมายธรรมชาติ อาจต้องใช้นักกฎหมาย ลูกขุนจึงชี้ผิดชี้ถูกในคดีได้ แต่การตัดสินลงโทษซึ่งมีกระบวนการเทคนิคทางกฎหมายนั้นเป็นเรื่องของศาล (ระบบลูกขุนใช้ในระบบกฎหมายจารีตประเพณีอันเป็นการนำแนวคิดสำนักกฎหมายธรรมชาติไปใช้)

กฎหมายธรรมชาติได้พัฒนาการสู่ยุคโรมันที่ได้ชื่อว่ายุคทองของนักกฎหมายโรมัน จนเกิดความเชื่อว่าธรรมชาติสร้างได้ กฎหมายก็สร้างได้ เช่น การรับบุตลบุญธรรมที่บัญญัติขึ้นในยุคนี้เป็นการเลียนแบบแนวคิดสำนักกฎหมายธรรมชาติ

อาณาจักรโรมันได้นำแนวคิดสำนักกฎหมายธรรมชาติมาใช้โดยรวบรวมบัญญัติขึ้นเป็นประมวลกฎหมาย และในยุคใหม่ก็ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกที่นำแนวคิดสำนักกฎหมายธรรมชาติมาบัญญัติบังคับใช้ไว้ในประมวลกฎหมาย โดยอ้างความเป็นสากลของกฎหมายธรรมชาติ เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสมาจากกฎหมายธรรมชาติ ประเทศอื่นที่ติดต่อค้าขายกับฝรั่งเศสจึงต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสเพราะมาจากกฎหมายธรรมชาติ

ครั้นเยอรมันจะทำประมวลกฎหมายบ้าง ก็เกิดปัญหาว่าจะเอาประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสเป็นต้นแบบหรือไม่ ฝ่ายหนึ่งยอมรับเอาประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสเป็นต้นแบบ แต่อีกฝ่ายปฏิเสธ โดยอ้างเหตุผลว่าประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสมาจากกฎหมายธรรมชาติซึ่งเชื่อว่ามีความเป็นสากล แต่ความจริงแล้ว กฎหมายของ ชนชาติหนึ่งชนชาติใดก็ใช้บังคับเฉพาะชนกลุ่มนั้น เพราะแต่ละชนชาติมีจิตวิญญาณของคนในชาติ มีจารีตประเพณีและประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาติแตกต่างกัน จึงเกิดแนวคิดว่าจะทำประมวลกฎหมายที่ดีต้องไปศึกษาจิตวิญญาณของชนชาติ (Volksgeist)  ดังนั้น แนวคิดทฤษฎีที่นำมาบัญญัติเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันจึงมีพื้นฐานจากสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์

สรุปความหมายและลักษณะสำคัญของความคิดสำนักกฎหมายธรรมนิยมหรือกฎหมายธรรมชาติ

กฎหมายธรรมชาติ หมายถึง กฎหมายซึ่งบุคคลอ้างว่ามีอยู่ตามธรรมชาติคือเกิดมีมาเองโดยมนุษย์ไม่ได้ทำขึ้น เป็นกฎหมายอยู่เหนือรัฐและใช้ได้โดยไม่จำกัดกาลเทศะ

(หยุด แสงอุทัย 2518: 130)

พอจะสรุปหลักการบางประการของความคิดสำนักกฎหมายธรรมนิยมหรือกฎหมายธรรมชาติได้ดังต่อไปนี้ (ปรีดี เกษมทรัพย์ 2526: 315-316)

1. สำนักนี้ยืนยันว่าโลกหรือจักรวาลเป็นสิ่งที่มีระบบระเบียบในทางศีลธรรมไม่ใช่สิ่งที่มีระบบระเบียบตามกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติเท่านั้น

2. ระบบระเบียบสากลนี้เรียกว่ากฎหมายธรรมชาติและมีอยู่โดยภาวะวิสัยของมันไม่ขึ้นอยู่กับเจตจำนงของมนุษย์

3. ยืนยันว่าธรรมชาติมนุษย์มีเหตุผล (Reason) คือความสามารถในการที่จะรู้ถึงความผิดชอบชั่วดีได้

4. กฎเกณฑ์ที่ใช้ในสังคมมนุษย์รวมทั้งกฎหมายบ้านเมือง มีบ่อเกิดมาจากเหตุผลของมนุษย์ที่กล่าวนี้และเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายธรรมชาติ

5. ธรรม ความยุติธรรม และศีลธรรม จึงเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับกฎหมายบ้านเมือง หน้าที่สำคัญของวิชานิติศาสตร์โดยเฉพาะวิชานิติปรัชญาคือการค้นคว้าให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์เหล่านั้น



วิเคราะห์แนวคิดสำนักกฎหมายธรรมชาติ ตอนที่ 1

ตอนที่ 1
ความเป็นมา
มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ย่อมต้องพึ่งพาอาศัยเพื่อนมนุษย์ด้วยกันทั้งทาง ด้านวัตถุและด้านจิตใจ มนุษย์จึงอยู่รวมเป็นกลุ่มมาตั้งแต่เริ่มแรกมีมนุษย์เกิดขึ้นในโลก กลุ่มคนอาจจะมีขนาดเล็กตั้งแต่ 2-3 คนขึ้นไปจนถึงกลุ่มขนาดใหญ่มีสมาชิกหลายร้อยล้านคน กลุ่มเล็กที่สุด ได้แก่ ครอบครัว ซึ่งประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก และญาติพี่น้อง ครอบครัวหลายๆ ครอบครัวรวมกันเป็นชุมชน และชุมชนหลายๆ ชุมชนรวมกันเป็นสังคม (ยุทธ ศักดิเดชยนต์ 2527: 5)

กฎหมายเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์มีการรวมตัวกันเป็นสังคม จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องมีเกณฑ์กลางที่เป็นหลักให้ผู้ที่อยู่ในสังคมนั้น ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ด้วยความสงบสุข ดังคำสุภาษิตละตินที่ว่าที่ไหนมีสังคมที่นั่นมีกฎหมาย (ศรีราชา เจริญพานิช 2538: 318-319)

 โดยกฎหมายมีหน้าที่ในการอำนวยให้ชีวิตสังคมเป็นไปอย่างปกติสุข สังคมจะอยู่เป็นปกติสุขได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกของสังคมสามารถที่จะมีความ สัมพันธ์ร่วมมือกันได้อย่างราบรื่น แต่ละคนมีความมั่นใจได้พอสมควรว่าเมื่อเราทำหน้าที่ส่วนของเราแล้ว คนอื่นๆ ก็จะปฏิบัติตามหน้าที่ๆ ที่เขามีอยู่ต่อเราเช่นเดียวกัน ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสังคมสามารถวางแบบแผนกฎเกณฑ์ทั้งที่เป็น ทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อเป็นแนวทางความประพฤติของสมาชิกทั้งหลาย และสามารถบังคับให้โทษแก่สมาชิกที่ละเมิดกฎเกณฑ์ของสังคม 

หน้าที่ของกฎหมายประการแรก จึงได้แก่การควบคุมสังคม (social control) ทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบในสังคมย่อมประกอบด้วยบุคคลจำนวนมาก แต่ละคนมีความคิด ความต้องการ หรือผลประโยชน์แตกต่างกันไป ความขัดแย้งหรือพิพาทกันระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลย่อมเกิดขึ้นได้เป็น ธรรมดา แต่ถ้าการขัดแย้งมีมากและแต่ละฝ่ายพิพาทกันโดยใช้กำลังเป็นเครื่องตัดสิน สังคมย่อมจะรักษาระเบียบเอาไว้ยาก สังคมจะมีแต่ความสับสนยุ่งเหยิง และมีความรุนแรงเกิดขึ้น ดังนั้นกฎหมายจึงมีหน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การระงับข้อพิพาท (displte settlement) หรือการขัดแย้งภายในสังคม และในการวางระเบียบกฎเกณฑ์ก็ดี ในการระงับข้อพิพาทระหว่างบุคคลก็ดี

กฎหมายต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักความยุติธรรมและศีลธรรมของสังคมกฎหมายจึงเป็นกลไกที่จะรักษาไว้ซึ่งความเที่ยงธรรมและหลักศีลธรรมของสังคม สังคมที่เป็นธรรมจะมีขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีกฎหมายที่เป็นธรรม (ยุทธ ศักดิเดชยนต์ 2527: 13)

โดยที่กฎหมายใน สังคมบรรพกาล (primitive societies) อยู่ในรูปของขนบธรรมเนียม ประเพณี และคำสั่งสอนทางศาสนา มีหัวหน้าเผ่าเป็นผู้มีหน้าที่รักษากฎเกณฑ์เหล่านั้น ยังไม่มีสถาบันศาล แต่ในสังคมสมัยใหม่ (modern societies) มีการวางระเบียบวิธีการมากขึ้น ทั้งในด้านบริหาร การปกครอง และการจัดการ มีการจัดระดับฐานะของกฎหมายชัดเจนมีองค์กรที่บัญญัติกฎหมาย และควบคุมการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายมีลักษณะเป็นสถาบันที่ชัดเจน และมีแบบแผนซับซ้อนมากขึ้น (ยุทธ ศักดิเดชยนต์ 2527: 58)

กฎหมายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปรู้หรืออย่างน้อยกฎหมายก็สันนิษฐานว่าทุกคนรู้ แต่เป็นสิ่งที่ให้ความหมายแน่นอนตายตัวได้ยาก นักปราชญ์ทางกฎหมายก็ได้พยายามให้คำจำกัดความของกฎหมายมาตั้งแต่โบราณกาล จนบัดนี้ก็ยังไม่มีใครอาจให้คำจำกัดความที่แน่นอนตายตัวได้ คำจำกัดความของกฎหมายมีอยู่แตกต่างกันตามทรรศนะของผู้นิยาม กฎหมายในทรรศนะของนักการศาสนาก็แตกต่างกับกฎหมายในทรรศนะของนักประวัติศาสตร์ กฎหมายในทรรศนะของนักประวัติศาสตร์ก็แตกต่างกับกฎหมายในทรรศนะของนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ นักสังคมศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายในทรรศนะของคนเหล่านี้ก็แตกต่างกับกฎหมายในทรรศนะของนักกฎหมายเอง